รายรับรายจ่าย excel

วางแผนการเงินส่วนตัว ให้แข็งแรง เพื่อเป้าหมายสูงสุดสู่การเกษียณ

Admin • Jul 14, 2023
วางแผนการเงิน ส่วนตัว

ทำไมต้อง วางแผนการเงิน ส่วนตัว?

เพราะ การเงิน ถือเป็นปัจจัยหลัก ที่สำคัญในการดำเนินชีวิตเลย การทำทุกอย่างจำเป็นต้องมีเงินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญเลยทั้งสิ้น ดังนั้น การที่เราให้ความสำคัญกับเงิน จะทำให้เรา มีการวางแผนการหาเงิน วางแผนการใช้จ่าย รวมไปถึงการวางแผนเพื่อต่อยอดไปยังเรื่องของการเตรียมตัวเกษียณต่อไปในอนาคต

วางแผนการเงิน เริ่มต้นอย่างไร

เราแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน สำหรับการเริ่มต้นวางแผนการเงิน ให้ทำได้ง่ายและบรรลุเป้าหมายได้ในระยะยาว ลองเอาไปทำตามและปรับใช้กับตัวเองได้ เพื่อเตรียมตัวเองให้พร้อมในวัยเกษียณ เราจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย และรายได้ จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

1. เป้าหมาย

ทุกการเดินทางย่อมมีปลายทางที่เราจะไปครับ ชีวิตของเราเองก็เช่นกัน ไม่มีใครอยากใช้ชีวิตให้จบไปวันๆ แบบหาเช้ากินค่ำหรอกครับ และแน่นอนว่า เราไม่สามารถ ทำงานไปจนวันสุดท้ายของชีวิตได้ ถ้าเราไม่เตรียมเงินเพื่อวันนั้นไว้ รับรองได้เลยว่า เราจะกลายเป็นภาระ และความลำบากชิ้นใหญ่ ให้กับลูกหลานอย่างแน่นอน


การตั้งเป้าหมาย คือ การกำหนดทิศทาง และความต้องการของชีวิต ให้สามารถบรรลุตามความตั้งใจได้ง่าย และไม่หลงประเด็น รวมไปถึงการตั้งเป้าหมายด้านอื่นๆ ในชีวิตด้วยนะ

การตั้งเป้าหมายทางการเงิน เพื่อวันเกษียณ คือ การเตรียมตัวหาเงิน เพื่อใช้ในตอนที่เราไม่ได้ทำงานแล้ว หรือ ที่เราชอบเรียกกันว่า เกษียณแล้ว นั่นแหล่ะ เรามีหลักในการคิดง่ายๆ คือ

  • เราจะเกษียณ ตอนอายุเท่าไร และตอนนี้เราอายุเท่าไร (เพื่อดูระยะเวลาในการหาเงินเตรียมตัว)
  • หลังจากเกษียณแล้ว เราคาดว่าจะเตรียมเงินไว้ใช้ให้ถึงวันสุดท้ายของเราตอนอายุเรากี่ปี (เพื่อหาระยะเวลาที่เราจะอยู่ใช้เงิน)
  • หลังเกษียณเราจะใช้จ่ายเงินเดือนละเท่าไร

ขั้นตอนของการเริ่มกระบวนการคิดเหล่านี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนในระยะยาว เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในวันเกษียณ แต่สิ่งที่เราจะต้องเริ่มทำก่อน และเริ่มเลยทันทีตั้งแต่ตอนนี้คือ วางแผนชีวิตตัวเอง และการเงินตัวเองให้ สอดคล้องกับเป้าหมายนั้นๆ ด้วย


การตั้งเป้าหมายออกเป็นหลายๆ ระยะ ก็จะช่วยให้เราสามารถ ตรวจเช็คสถานะของตนเองได้ว่า เราเดินทางมาได้ไกลเท่าไรแล้ว จากจุดเริ่มต้น และอีกใกล้ไกลแค่ไหน เราจึงจะถึงเป้าหมายปลายทาง เราจึงอยากแนะนำให้มีการตั้งเป้าหมาย ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวไว้ด้วย เพื่อให้มองเห็นภาพของปลายทางได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

  • เป้าหมายระยะสั้น
  • เป้าหมายระยะกลาง
  • เป้าหมายระยะยาว (อาจจะเป็นเป้าหมายหลังเกษียณ)
เป้าหมายทางการเงิน
การตั้งเป้าหมายที่ดี ทำอย่างไร?

การตั้งเป้าหมายที่ดี จะต้องมีความท้าทายในระดับที่เราสามารถทำได้แต่ ต้องใช้ความมานะ จริงจังและตั้งใจด้วย ไม่ตั้งเป้าหมายที่ง่ายเกินไปและดูมีความเป็นไปไม่ได้ แต่ต้องไม่ดูถูกความสามารถตัวเองด้วยนะ นอกจากนั้น เรายังต้องวัดผลได้ และกำหนดระยะเวลาให้เป้าหมายนั้นด้วย ว่าเราจะทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาเท่าไร หลักในการตั้งเป้าหมายที่นิยมใช้กันคือ SMART

หลักการตั้งเป้าหมายแบบ SMART
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย
สมมติ นายเอ อายุ 30 ปี ทำงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง มีรายได้ 50,000 บาท/เดือน และมีรายจ่ายประมาณเดือนละ 30,000 บาท รวมผ่อนรถยนต์และหนี้อื่นๆแล้ว เขาจะมีเงินเหลือประมาณ 20,000 บาท
  • เป้าหมายระยะสั้น
    S = มีเงินสดเก็บในบัญชีเป็นเงินออม
    M = มีเงินออมในบัญชีมูลค่า 100,000 บาท
    A = ทำได้โดยการเก็บเงินเดือนละ 10,000 บาท
    R = เป็นไปได้เพราะมีเงินเหลือทุกเดือน ก็เก็บก่อนใช้
    T = 1 ปี
  • เป้าหมายระยะกลาง
    S = มีสินทรัพย์ที่สร้างรายได้
    M = มูลค่า 3 ล้านบ้านและให้ผลตอบเทน 5%/ปี
    A = ทำได้โดยการซื้อหุ้นแบบ DCA เดือนละ 10,000 บาท
    R = น่าจะเป็นไปได้
    T = 5 ปี
  • เป้าหมายระยะยาว
    S = เกษียณอายุและมี Cash Flow ใช้จ่ายทุกเดือน
    M = มี Cash Flow เดือนละ 50,000 บาท
    A = ทำได้โดยการสร้างสินทรัพย์ที่สร้างรายได้ในเป้าระยะกลางให้สำเร็จและสร้างพอร์ตให้โตขึ้นต่อไป
    R = น่าจะเป็นไปได้
    T = 20 ป


2. ประเมิน

การประเมินเป็นการทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น

ทุกการเดินทาง เราต้องรู้ก่อนว่า ตอนนี้เราอยู่ ณ จุดไหนแล้ว เพื่อให้เราสามารถเลือกการเดินทางที่เหมาะสมกับเป้าหมายได้ดีที่สุด การประเมินในที่นี้ เราจะพูดถึง การเงินของเราเอง ว่ามีสถานะเป็นอย่างไร

หากถามเรื่องรายได้ของแต่ละคน ว่า ตอนนี้คุณมีรายได้เท่าไร หลายๆคน ก็สามารถตอบได้เลยทันที ว่ามีรายได้เท่านั้นเท่านี้ แต่ในทางกลับกัน หากถามว่า คุณมีรายจ่ายเท่าไร บางคนก็จะอ้ำๆอึ้งๆ ตอบได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่สำหรับคนที่ทำบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นประจำ เขาจะสามารถตอบได้เลยอย่างชัดเจนว่า เขามีค่าใช้จ่ายอะไร เป็นเท่าไรบ้าง เช่น

  • ค่าอาาหาร 12,529 บาท
  • ค่าน้ำมันรถ 2,500 บาท
  • ค่าผ่อนรถ 6,900 บาท
  • ค่าของใช้ส่วนตัว 1,755 บาท
  • ค่าช๊อปปิ้ง 2,959 บาท
  • .....

จะเห็นได้ว่า หากเราบันทึกรายรับรายจ่ายเป็นประจำ นอกจากเราจะทราบทั้งรายได้และรายจ่ายแล้ว เรายัง สามารถตรวจสอบได้ว่าพฤติกรรมการใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือนนั้นเป็นอย่างไร ใช้จ่ายเกินตัว หรือ มีเดือนไหนเหลือบ้างหรือไม่ ซึ่งการทำแบบนี้ ส่งผลดีต่อตัวเราเองเป็นอย่างมากและเป็นจุดสำคัญ ที่จะทำให้เรารู้สถานะทางการเงินของตัวเองได้เป็นอย่างดี


แต่การประเมิน ในที่นี้ เราจะ ต้องทราบถึงสถานะทางการเงินของตัวเองอย่างชัดเจนก่อนครับ ว่า เรามีความมั่งคั่งทางการเงินมากน้อยแค่ไหน โดยการตรวจสอบสถานะของทั้งสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อเทียบเทียบกับเป้าหมาย ว่าเราต้องเดินทางต่อทางไหน เพื่อทำให้เป้าหมายที่เราตั้งไว้ สามารถบรรลุผลได้


รูปแบบการการคำนวณความมั่งคั่งทางการเงินนั้น วันนี้เราได้นำแบบประเมินที่อยู่ในรูปแบบ Google sheet มาให้ผู้อ่าน ได้โหลดและนำไปใช้งานกันฟรีๆ เพื่อร่วมทำให้การประเมินความมั่งคั่งทางการเงิน ทำได้ง่ายมากขึ้น ในลิงค์ด้านล่าง

แบบประเมินความมั่งคั่งทางการเงิน
ประเมินความมั่งคั่งทางการเงิน
ประเมินความมั่งคั่งทางการเงิน
การใช้งาน Template แบบประเมินความมั่งคั่งทางการเงินส่วนตัว

กรอกข้อมูลลงในตาราง ตามรูป ที่มีกรอบ โดยละเอียด แบ่งตามหัวข้อของตาราง

  • สินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่ เงินสด เงินในบัญชี เงินฝากประจำ
  • สินทรัพย์เพื่อการลงทุน ได้แก่ หุ้น กองทุน พันธบัตร ตราสารอนุพันธ์ และอื่นๆ รวมไปถึง บ้านหรือคอนโดที่ปล่อยเช่าด้วย
  • ประกันชีวิต (แยกเพื่อให้ตรวจสอบความคุ้มครองชีวิตได้ง่ายขึ้น)
  • สินทรัพย์มีค่า ได้แก่ ของสะสม เครื่องประดับ รถยนต์ บ้านเพื่ออยู่อาศัย

เมื่อเราใส่ข้อมูลส่วนตัวของเราไปแล้ว ระบบจะคำนวณเป็นเปอร์เซ็น ว่า สินทรัพย์หรือหนี้สินนั้นๆ เราถือเป็นกี่เปอร์เซนต์ของสินทรัพย์หรือหนี้สินทั้งหมด และส่วนบนสุดของตาราง จะแสดงค่าความมั่งคั่ง ว่ามีมูลค่าเป็นเท่าไรนั่นเอง


เมื่อเราทราบว่าเรามีความมั่งคั่งสุทธิเป็นเท่าไรแล้ว หลังจากนั้น เราจะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่า เรามีสินทรัพย์หรือหนี้สินมากกว่ากัน

จากการยกตัวอย่างตอนตั้งเป้าหมาย เราต้องการเกษียณแล้วมีเงินใช้ หมายความว่า เป้าหมายของการเกษียณคือเราต้องมีสินทรัพย์ ที่สามารถสร้าง cash flow เพื่อให้เรามีรายได้หลังจากที่เราเกษียณแล้ว  ดังนั้น เราต้องมีสินทรัพย์เพื่อการลงทุน ที่มากพอ หรือ ใครวางแผนเป็นแบบอื่น ก็สามารถใช้ตารางสรุปมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินนี้เพื่อประเมินตัวเองได้เลย



3. ปรับปรุง

ขั้นตอนของการปรับปรุง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อทำให้เป้าหมาย มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะประสบความสำเร็จ

การปรับปรุงนี้ เราจะปรับปรุงอะไร อย่างไรบ้าง

ปรับปรุงการใช้จ่าย

  • ทำได้โดยการทำบัญทึกรายรับรายจ่าย เพื่อควบคุมและติดตามการใช้จ่ายเงินของเรา เพื่อให้ทราบว่าเราใช้เงินไปเรื่องใดบ้าง และเพื่อเป็นการวางแผนการใช้จ่ายให้ไม่เรื่อยเปื่อยเกินความจำเป็น
  • วางแผนล่วงหน้า รายรับรายจ่ายส่วนตัว การทำเช่นนี้ จะทำให้เรา ตระหนักกับตนเองได้อย่างชัดเจน ว่า เดือนไหนบ้าง ที่เราจำเป็นต้องเตรียมเงินไว้ เพื่อรายจ่ายสำคัญๆ หรือรายจ่ายพิเศษ เพื่อให้เรามีการวางแผนเตรียมค่าใช้จ่ายให้พร้อมกับรายการนั้นๆได้ทัน
  • ยึดการใช้จ่ายตามแผนที่เราตั้งงบประมาณในแต่ละหมวดไว้อย่างเคร่งครัดที่สุด

เป้าหมายที่มีกับรายได้เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

  • หากเราตั้งเป้าหมายแล้วจำเป็นต้องหารายได้เพิ่มเติม ต้องปรับปรุงวิธีการหาเงิน
รายรับรายจ่าย วางแผนการเงินส่วนตัว
By Admin 03 Jul, 2023
ระบบช่วยวางแผนการใช้เงิน ที่มองเห็นภาพได้ตั้งแต่ต้นปียันท้ายปี ปกติแล้วเราจะรู้เลยว่า แต่ละเดือนเราจะได้รับเงินเท่าไร แต่น้อยคนมากที่จะรู้จริงๆ ว่าเราจ่ายไปเท่าไร ระบบตัวนี้จะเป็นตัวช่วยให้เรากำหนดงบการใช้จ่ายในแต่ละหมวดให้ ว่า เราจะใช้เท่าไรในแต่ละเดือน ซึ่งเมื่อเรากำหนดและวางแผนการใช้งานไว้ เราก็จะรู้พฤติกรรมการใช้จ่ายของเราเลยว่า เราใช้จ่ายไปกับค่าใช้จ่ายหมวดใดบ้าง เกินไหม มีเงินเก็บไหม เป็นอีกตัวช่วยที่จะทำให้เราตัดปัญหาเรื่องเงินช๊อตได้เป็นอย่างดี

Template บันทึกรายรับรายจ่าย สำหรับใช้บันทึกส่วนตัว แบบที่สามารถตั้งเป้าค่าใช้จ่ายรายเดือนได้


4. ปฏิบัติ

หลังจากที่เราลงมือวางแผน ตั้งเป้าหมาย ประเมินตัวเอง และปรับปรุงการใช้จ่ายของตนเองแล้ว ขั้นสุดท้ายที่สำคัญที่สุด และง่ายที่สุด แต่ทำยากที่สุด ก็คือการลงมือทำ เพื่อให้เป้าหมายทั้งหมดบรรลุผลไปได้นั่นเอง

ไม่มีเป้าหมายไหน จะสำเร็จได้ หากขาดการลงมือทำอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ อย่าเหนื่อยและท้อให้กับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาจนล้มเลิกไปเสียก่อนล่ะ


สุดท้ายแล้ว เราเชื่อว่า การเงินเป็นเรื่องของทุกคน และจะมีเฉพาะคนที่ให้ความสำคัญกับเงินเท่านั้น ที่จะหาประโยชน์จากมันและรักษามันไว้ได้อย่างดีและคุ้มค่าที่สุด


แสดงความคิดเห็น

google sheet ป้องกันช่วงข้อมูล บนแผ่นงาน
By Google sheet 17 May, 2024
สำหรับ ใครที่กำลัง หาวิธีการป้องกันช่วงของข้อมูล แค่บางคอลั่ม หรือ บางเซลล์ ให้แก้ไขได้เฉพาะ คนที่เราต้องการ(อีเมล) เท่านั้น สามารถทำตามนี้ได้เลยครับ
ตั้งค่าสิทธิ์ ซ่อนแผ่นงาน เฉพาะบางอีเมลเท่านั้น บน Google sheet
By Admin 10 May, 2024
โดยปกติ การใช้งาน Google sheet เพื่อทำงานในองค์กรนั้น ถูกใช้งานกันอย่างแพร่หลายอยู่แล้ว และบางครั้ง ความจำเป็นของการใช้งานบนไฟล์เดียวกัน ก็เลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องมีบางข้อมูล ที่อาจจะไม่อยากให้บางคนเห็นข้อมูลนั้นๆ แต่การใช้งาน Google sheet นั้น ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่าง แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาที่สำคัญ วันนี้ แอดมิน จึงนำเทคนิค การ ซ่อนแผ่นงาน บางหน้า ให้เฉพาะคนที่เราต้องการให้เปิดได้เท่านั้น จึงจะสามารถเปิดดูและแก้ไขได้
เทมเพลต รายรับรายจ่าย สำหรับธุรกิจ ใช้งานบน Google sheet ใช้งานง่าย
By Admin 03 Apr, 2024
เทมเพลต หรือ แม่แบบ สำหรับใช้บันทึกรายรับรายจ่าย บน Google sheet ถูกออกแบบการใช้งานและผูกสูตรไว้ครบแล้ว สามารถนำไปใช้งานได้เลย จะทำให้การจัดการเรื่องรายรับรายจ่ายของธุรกิจคุณ เป็นระบบและประหยัดเวลามากขึ้นได้อย่างแน่นอน
Share by: